โซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบไฟฟ้าทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงมีการควบคุมด้วยมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร โดยอุปกรณ์และงานติดตั้งทั้งหมดจะต้องผ่านมาตรฐาน ‘วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)’ ที่ถูกออกแบบกำหนดแนวทางไว้อย่างชัดเจน ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การติดตั้ง การบำรุงรักษา ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ
ทำไมถึงต้องใช้มาตรฐาน วสท. กับโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์
วสท. มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยความสำคัญของมาตรฐาน วสท. สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ จะต้องมีการออกแบบและการติดตั้งระบบต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐาน วสท. เพื่อลดความเสี่ยง และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครบถ้วน
- ความเป็นมาตรฐาน มาตรฐาน วสท. ช่วยให้วิศวกรและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีทิศทางและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
- มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ มาตรฐาน วสท. เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงสามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาการได้
- ปฏิบัติตามกฏหมาย มาตรฐาน วสท. ถูกบรรจุอยู่ในกฎหมายและเป็นข้อบังคับสำหรับงานด้านวิศวกรรมของไทย หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินการทางกฎหมายพร้อมรับบทลงโทษ
การปฏิบัติตามมาตรฐาน วสท. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ สุมิตรา พาวเวอร์ฯ ดำเนินการมาโดยตลอด เพื่อมอบความปลอดภัยและเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การติดตั้งและออกแบบระบบโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์ตามมาตรฐาน วสท.
มาตรฐาน วสท. เป็นสิ่งสำคัญในด้านวิศวกรรมและทางกฎหมาย ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งในการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ การติดตั้งที่ถูกต้องตามมาตรฐาน วสท. มีข้อกำหนดที่สำคัญในหลายด้าน เช่น
- ระยะห่างในการติดตั้งและการเลือกใช้สายไฟ กำหนดให้ติดตั้งสายไฟในระยะที่เหมาะสม และใช้สายไฟที่ได้มาตรฐานสามารถทนต่อแสงแดดและความร้อนได้ดี เพื่อป้องกันการละลายหรือเสื่อมสภาพซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ในการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว จ้องมีการติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Ground Fault Protection) เพื่อให้เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว ระบบจะตัดไฟอัตโนมัติ ช่วยลดความเสี่ยงต่อผู้ใช้งานหรือผู้ติดตั้ง และความเสียหายต่ออุปกรณ์อื่น ๆ
- การป้องกันกระแสไฟเกิน มีการใช้อุปกรณ์ตัดไฟและระบบป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protection) ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อมีการใช้งานหรือจ่ายไฟฟ้ามากเกินไป
ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ทั่วไปจะมี Rapid Shutdown เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดการทำงานฉุกเฉิน ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเหตุเพลิงไหม้หรือไฟดูด แต่ในระบบ 𝙈𝙞𝙘𝙧𝙤 𝙄𝙣𝙫𝙚𝙧𝙩𝙚𝙧 ยี่ห้อ Hoymiles ที่สุมิตรา พาวเวอร์ฯ เลือกใช้ มีการทำงานด้วยกระแสไฟแรงดันต่ำเริ่มที่ 22V และไม่เกิน 60V จึงไม่จำเป็นต้องใช้ Rapid Shutdown เหมือนโซล่าเซลล์แบบเก่า
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามมาตรฐาน วสท. ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์
ผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามมาตรฐาน วสท. ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์มีดังนี้
- เพิ่มความปลอดภัยระยะยาว การเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งตามมาตรฐาน จะช่วยลดโอกาสในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือปัญหาที่เกิดจากการใช้งานระบบในระยะยาว
- ระบบมีประสิทธิภาพการทำงานสูง เมื่ออุปกรณ์ทำงานได้ตามมาตรฐานทั้งระบบ โซล่าเซลล์จะผลิตพลังงานได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดการสูญเสียพลังงานได้อีกทางหนึ่งด้วย
ลดการเกิดอุบัติเหตุ ระบบไฟฟ้ามีความอันตรายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรฐานช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่อตัวผู้ใช้และผู้ที่ทำงานใกล้กับระบบ
การตรวจสอบและบำรุงรักษาโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน วสท.
การบำรุงรักษาคือหัวใจของการทำให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน มาตรฐาน วสท. ยังให้คำแนะนำในการดูแลและตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์เป็นระยะ ซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองดังนี้
- การตรวจสอบจุดเชื่อมต่อและสายไฟ สายไฟและจุดเชื่อมต่ออาจหลวม เสื่อมสภาพ หรือเกิดสนิมได้ ควรตรวจสอบและเปลี่ยนทันทีที่พบปัญหา
- การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ฝุ่นละอองหรือน้ำฝนที่ติดค้างบนแผงอาจลดทอนการผลิตพลังงาน จึงควรทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 3-6 เดือน ซึ่งข้อดีของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ คือ สามารถฉีดล้างบนแผงโซล่าเซลล์ได้ โดยไม่ต้องปิดระบบ
- การทดสอบอุปกรณ์ควบคุม ควรทดสอบระบบป้องกันไฟฟ้ารั่วและระบบตัดไฟในกรณีที่กระแสไฟเกิน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่หากติดตั้งกับ สุมิตรา พาวเวอร์ฯ จะมีบริการดูแลโดยวิศวกรผ่านระบบ Monitoring ที่สามารถตรวจสอบได้ทั้งประสิทธิภาพการทำงานแบบรายแผง หรือปริมาณกำลังการผลิตทั้งระบบ และสามารถรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที ทำให้แก้ไขได้ตรงจุด
มาตรฐาน วสท. ปี 2567: ความเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ที่ควรรู้
ในปี 2567 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้อัปเดตมาตรฐานบางส่วนให้ทันสมัยและเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยเสริมความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีมาตรฐานที่เพิ่มขึ้นดังนี้
- การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร กำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อย่างการใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากและการควบคุมอุณหภูมิในบริเวณติดตั้งแผง
- การบำรุงรักษาตามระยะเวลา กำหนดแนวทางใหม่สำหรับการบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ โดยเฉพาะระบบกราวนด์และจุดเชื่อมต่อไฟฟ้าต่าง ๆ
- มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ที่เน้นให้การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในปี 2567 ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้และการออกแบบระบบที่ลดการสูญเสียพลังงาน เป็นต้น
ในปี 2567 เป็นปีแห่งการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ การติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน วสท. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานให้กับโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ นอกจากนี้การเลือกผู้ให้บริการติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์ที่เชี่ยวชาญ จะช่วยให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและยาวนาน