ปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในแง่ของการช่วยลดค่าไฟฟ้าและเรื่องของการลดโลกร้อน การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ไม่มีวันหมดช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับโซล่าเซลล์ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นก็คือ Micro Inverter ที่สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในการติดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน รวมถึงแก้ไขจุดด้อยของโซล่าเซลล์แบบเก่าให้หมดไป
อย่างไรก็ตามการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ ยังมีอาคารหรือหลังคาบางประเภทที่ติดตั้งยากและต้องอาศัยวิศวกรที่เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ดังนั้นการเลือกอาคารหรือหลังคาที่เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงสุด แต่ยังเป็นการป้องกันความเสียหายและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นเรามาสำรวจประเภทของหลังคาและอาคารที่เหมาะสมกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์ พร้อมเหตุผลสนับสนุนจากแง่มุมต่างๆ จากบทความด้านล่างนี้
มุมเอียงของหลังคาและทิศทางที่เหมาะสม
ในการติดตั้งโซล่าเซลล์มุมเอียงและทิศทางของหลังคามีความสำคัญ หากหลังคามีทิศทางและมุมที่ไม่เอื้อต่อการรับแสง เช่น หลังคาที่หันไปในทิศเหนือ หรือมีมุมเอียงที่น้อยกว่า 10 องศา จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ไม่ได้รับแสงเพียงพอ ส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าไม่ดีเท่าที่ควร โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งโซล่าเซลล์ในประเทศไทย จะติดตั้งให้แผงโซล่าเซลล์หันไปทาง “ทิศใต้” ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลารับแสงต่อวันยาวนานที่สุด
ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ควรมีมุมเอียงประมาณ 15-30 องศา จะช่วยให้แผงโซล่าเซลล์สามารถรับแสงได้มากที่สุด รวมถึงยังช่วยลดการสะสมของฝุ่นหรือน้ำ ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า หากโครงสร้างที่ติดตั้งมีมุมเอียงที่ไม่มากพอ ควรติดตั้งตัวปรับองศาของแผงโซล่าเซลล์เพิ่มเติมเพื่อให้รับแสงได้ดียิ่งขึ้น
การติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์บนหลังคา Single Roof และหลังคากระเบื้องซีเมนต์
สิ่งที่หลายคนกังวลในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา คือปัญหาการรั่วซึมและความเสียหายของโครงสร้างหลังคา สำหรับหลังคาแบบ Single Roof และหลังคากระเบื้องซีเมนต์ ถือเป็นหนึ่งในประเภทหลังคาที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ เพราะมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้มาก
ในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา Single Roof นั้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ยึดติดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะและได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และตัวไมโครอินเวอร์เตอร์ได้อย่างมั่นคง ตลอดจนไม่กระทบต่อโครงสร้างของหลังคา
อาคารที่เหมาะสมในการติดตั้งต้องมีพื้นที่หลังคากว้างและไม่มีเงาบดบัง
การมีพื้นที่หลังคากว้างถือเป็นข้อได้เปรียบและเป็นผลดีอย่างมากในการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพราะยิ่งมีพื้นที่มากก็สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้มากขึ้น ดังนั้นอาคารอย่าง โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ หรือบ้านขนาดใหญ่ จึงถือว่ามีความเหมาะสม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับโซล่าเซลล์ ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ กลับมีข้อดีที่น่าสนใจ คือความยืดหยุ่นในการติดตั้ง วิศวกรสามารถคำนวณการจัดวางแผงโซล่าเซลล์ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์สำหรับบ้านทาวน์โฮมที่มีพื้นที่น้อย
นอกจากนี้หลังคาที่ไม่มีเงาบังยังเป็นผลดี ช่วยให้แผงโซล่าเซลล์สามารถรับแสงได้เต็มที่ตลอดทั้งวัน ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ผสานกับจุดเด่นสำคัญของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ ที่หากแผงใดแผงหนึ่งมีเงาบังหรือไม่ทำงาน ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของแผงอื่นๆ ทำให้ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
หลังคาต้องมีโครงสร้างแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้ดี
แม้ว่าแผงโซล่าเซลล์จะไม่ได้มีน้ำหนักมาก แต่การตรวจสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาก่อนการติดตั้งก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับโครงสร้างหลังคาคอนกรีตและหลังคาเหล็กเคลือบสังกะสี มักจะสามารถรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ได้ดี หากเป็นหลังคาแบบอื่นอาจไม่แข็งแรงพอจึงจำเป็นต้องเสริมโครงสร้างด้วยวัสดุพิเศษเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการติดตั้ง
ปัญหาที่มักพบจากการติดตั้งโซล่าเซลล์บนอาคารที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรง คือการทรุดตัวของโครงสร้าง และการชำรุดของหลังคา การตรวจสอบความสามารถในการรองรับน้ำหนักและการปรับปรุงโครงสร้างหลังจึงต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
อาคารหรือสถานที่ที่ต้องการปริมาณไฟฟ้าสูง
โซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับอาคารที่ต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากและต่อเนื่อง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หรือสถานศึกษา เนื่องจากไมโครอินเวอร์เตอร์มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดขนาดของระบบได้ตามความต้องการ และมีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูง นอกจากนี้ไมโครอินเวอร์เตอร์ยังสามารถซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนแผงได้โดยไม่ต้องปิดระบบทั้งหมด จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารหรือสถานที่ที่ต้องการไฟฟ้าที่เสถียรในการใช้งาน
สถานที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
สำหรับอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศไม่แน่นอน เช่น ฝนตกบ่อย หรือมีการเปลี่ยนแปลงของแสงแดดตลอดทั้งวัน การติดตั้งระบบไมโครอินเวอร์เตอร์จึงมีความเหมาะสม เนื่องจากสามารถทำงานได้แม้มีแสงน้อยหรือเงาบัง นอกจากนี้ตัวไมโครอินเวอร์เตอร์ยังได้รับการออกแบบให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่หลากหลาย สามารถกันน้ำและกันฝุ่นในระดับ IP67 จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือสภาพแวดล้อมที่อาจมีฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เข้ามาเกาะที่แผงได้ดี
การติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์บนอาคารที่มีหลังคาหลายระดับหรือมีโครงสร้างซับซ้อน
สำหรับอาคารที่มีโครงสร้างหลังคาหลายระดับ มีมุมเอียงต่างกัน หรืออาคารที่มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมซับซ้อน ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากสามารถจัดการพลังงานได้อย่างอิสระ หากมีแผงโซล่าเซลล์แผงใดแผงหนึ่งได้รับแสงน้อย ก็ยังสามารถทำงานได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของแผงโซล่าเซลล์อื่นๆ
การเลือกหลังคาหรืออาคารที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ จึงมีความสำคัญในแง่ของประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าโดยตรง สุมิตรา พาวเวอร์ฯ มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์บนอาคารและหลังคาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย โรงงาน โรงเรียน หรือโรงพยาบาล เราพร้อมให้คำปรึกษาและบริการติดตั้งระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ทั่วประเทศ